ไข่นกแก้ว แตกต่างจากสัตว์ปีกอื่นๆ

ไข่นกแก้วแตกต่างจากสัตว์ปีก อื่นๆ ใครที่เคยเลี้ยงนกแก้วคงจะสังเกตว่าไข่นกแก้วมีการแตกได้ยากกว่าไข่ไก่หรือเป็ด มีเปลือกที่เหนียว ยืดหยุ่นดีกว่า และยิ่งไปกว่านั้นมีการติดเชื้อได้ยากกว่าด้วย รวมถึงถ้ามีการกระเทาะของเปลือกไข่ เมมเบรนข้างในจะยังมีความหนาและป้องกันไข่ได้เราสามารถซ่อมแซมเปลือกได้อย่างง่ายดาย โดยการใช้ยาทาเล็บทา เปลือกของไข่นกแก้วสามารถป้องกันความชื้นเข้าและออกได้ดีกว่าไข่ของสัตว์ปีกอื่นๆ รวมถึงการป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่า ดังนั้นเราจะพบได้ว่าในบางกรณีไข่ที่ไม่มีเชื้อ จะอยู่ได้โดยไม่เน่าเสียเป็นเวลาหลายอาทิตย์ ซึ่งต่างจากไข่ไก่ไม่นานก็จะกลายเป็นไข่เน่า อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถมีการติดเชื้อบางอย่าง ที่ทะลุผ่านเข้าไปได้ด้วย โดยอาจจะผ่านเข้าไปหรือติดต่อจากตัวแม่อย่างเช่นเชื้อ salmonella

Chlamydiosis โรคติดเชื้อสำคัญในนกแก้ว

Avian Chlamydiosis หรือที่เรียกกันว่า Parrot Diseases คือโรคติดเชื้อสำคัญโรคหนึ่งในนกแก้ว Avian Chlamydiosis (AC) หรือโรคคลามิเดียในนก เป็นโรคสำคัญที่พบบ่อย และที่สำคัญกว่าคือ สามารถติดต่อไปยังคนได้ เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย Chlamydia psittaci เป็นโรคที่พบได้ทั้งในธรรมชาติ ในกรงเลี้ยง และในฟาร์ม นกแทบทุกชนิดสามารถติดเชื้อนี้ได้ แต่นกเลี้ยงบางชนิด เช่น หงษ์หยก เลิฟเบิร์ด คอคคาเทลและลินนี่ จะชอบส่งผ่านโรคนี้มายังคน (คงเพราะเป็นนกที่คนเลี้ยงแบบใกล้ชิด) ซึ่งเวลาโรคนี้ติดมายังคน จะเรียกว่า Psittacosis การแพร่กระจายของเชื้อ เชื้อสามารถแพร่กระจายในธรรมชาติ หรือในฟาร์ม ผ่านทางฝุ่น น้ำลาย อุจจาระ เส้นขน หรือสัมผัสโดยตรงจากนกป่วย การติดผ่านน้ำและอาหาร หรือแม้แต่จากมือผู้เลี้ยงเอง ที่สำคัญเชื้อจะอยู่ในอุจจาระแห้งได้นานเป็นเดือน อาการสำคัญของนกที่ติดเชื้อคลามัยเดีย การวินิจฉัย สามารถมีการตรวจวินิจฉัย โดยสามารถติดต่อสัตวแพทย์ เพื่อเทสต์ได้ การรักษา นกที่สงสัยว่าป่วย ควรจับแยกออกจากนกตัวที่แข็งแรง ให้การรักษา โดยกินยาฆ่าเชื้อ เป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 45 วัน […]

ไซเตส Cites เรื่องที่คนรักนกแก้วต้องรู้

ไซเตส Cites เรื่องที่คนรักนกแก้วต้องรู้ อนุสัญญาไซเตส (CITES) ไซเตส (CITES)คืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรอง อนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526 คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ได้มีคำสั่งเลขที่339/2535 ลงวันที่12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยข้ึน โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำ ปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES […]

Exit mobile version